การออกจากทุกข์มีหลายวิธี จำแนกได้ 4 วิธีคือ
เป็นวิธีการดับทุกข์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หรือพระอรหันต์บางองค์ ถ้าดับตรงนี้ได้ก็สำเร็จคุณธรรมสูงสุด ผู้ปฏิบัติต้องผ่านรูปฌานมาก่อน
เป็นวิธีที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ใบไม้กำมือเดียวที่พระองค์สอน สามารถให้คนพ้นทุกข์ได้ วิธีนี้ผู้ศึกษาจะต้องเจริญสติปัฏฐาน 4 ตัณหาจะจางคลายไปเรื่อยๆ จนถึงสภาวะจิตหลุดพ้น มีดวงตาเห็นธรรม การหลุดพ้นด้วยวิธีนี้จะได้คุณธรรมขั้นต่ำสุด จนถึงขั้นสูงสุด อาศัยการสิ้นเหตุ ทุกข์ สุดท้ายคือ ทำอาสวะกิเลสให้สิ้น วิธีดับที่ตัณหานี้จะใช้เจตนาของจิตขั้นสมถะเข้าตัดก็ได้
และกรรมของผู้ปฏิบัติว่าสร้างเหตุอันใดไว้ที่มาขวางกั้นมรรคผล เมื่อรู้แล้วก็กระทุ้งเข้าไปหาจุดนั้น แล้วให้ปล่อยคลายออก เมื่อจิตคลายยึดก็สามารถทำให้หลุดพ้นได้ พระพุทธองค์ทรงใช้วิธีนี้เป็นส่วนมาก โดยอาศัยเทศน์กระทุ้ง เพราะเหตุว่าพระองค์เป็นสัพพัญญูสามารถรู้วาระจิต และกรรมของสัตว์ต่างๆ แล้วโลกนี้ และมีสาวกบางองค์ก็ใช้วิธีนี้ แต่จะเทียบเท่าพระพุทธองค์นั้นไม่มี ส่วนมากจะสอนเจริญสติปัฏฐาน 4 ในวิธีที่ 2
หาแรงเหวี่ยงให้จิตหลุดออกไป เป็นวิธีที่พระพุทธองค์ใช้กับสาวกบางองค์ เช่น พระจุฬปัณถก โดยใช้มือลูบผ้าขาวไปมา จนจิตคลายความยึดในอาการเปลี่ยนแปลงสองส่วน จึงหลุดพ้นมีดวงตาเห็นธรรม แล้วปล่อยวางขันธ์ จนได้บรรลุอรหันตผล
ดังนั้นแนวทางการปฏิบัติอายตนะวิปัสสนากัมมัฏฐาน จึงใช้วิธีการออกจากทุกข์วิธีที่ 4 ซึ่งผู้ที่จิตหลุดพ้นส่วนมากจะมีคุณธรรม
ขั้นต้นมีดวงตาเห็นธรรมแล้วเจริญองค์ของมรรค ก็จะถึงคุณธรรมขั้นสูงสุด
“เนินดิน เป็น ภูเขา
ภูเขา เป็น แหล่งทรัพยากร
แหล่งทรัพยากร เป็น เนินดิน
เนินดิน ไม่ใช่ เนินดิน”
ความเข้าใจกับคำว่า วิมุตติ (ความหลุดพ้น)
คนที่จะเข้าใจคำว่า วิมุตติ นั้นจะต้องมีจิตหลุดพ้น มีดวงตาเห็นธรรมแล้วถึงจะเข้าใจ ถ้าจิตยังไม่หลุดพ้นแล้ว จะแปลความหมายวิมุตติได้ต่างๆ เรื่องวิมุตตินี้เป็นเรื่องของผู้บรรลุธรรม มีดวงตาเห็นธรรม คนที่จิตยังไม่หลุดพ้น จะไม่เข้าใจ
วิมุตติพระอริยบุคคล แบ่งออกเป็น 2 อย่าง
1. พระอริยะบุคคลที่ต้องศึกษาอยู่ (เสขะ) คือ มีจิตหลุดพ้นแล้วแต่มีกิเลสนอนเนื่องในสันดานอยู่ ทำให้มรรค (ทาง) ไม่สมบูรณ์ จึงต้องถอนอนุสัยอยู่เรื่อยๆ บางครั้งอนุสัยมีมาก ก็ผลักดันให้จิตไปรับเอากิเลสเข้ามา ก็เป็นทุกข์โทษ ก็ปล่อยออกไป (วิมุตติที่กำเริบ)
2. พระอริยะบุคคลที่ไม่ต้องศึกษาแล้ว (อเสขะ) คือ เขาถอนอนุสัยกิเลสในตัวตนหมดแล้ว (อาสวะ) เรียกว่าวิมุตติที่ไม่กำเริบอีกแล้ว ถึงจะมีกิเลสเข้ามา ก็เหมือนหนามที่ตำเท้า เขาถอนทิ้งไปแล้วจะเดินไปไหนก็สบาย ถึงจะถูกก้อนหิน หรือของแข็งก็ไม่เจ็บอีก ในทำนองเดียวกัน ผู้ถูกหนามตำเท้าไม่ถอนออก ถ้าเดิน อาจถูกหนามที่ปักอยู่กระเทือนได้ คือ ผู้ที่มีกิเลสนอนเนื่องอยู่ (เสขะ)
ข้อควรคิดสำหรับผู้ที่แสวงหาซึ่งความหลุดพ้น
- บุคคลที่เข้าใจว่าตนเองมีดวงตาเห็นธรรม สามารถมองทะลุปรุโปร่งหมด ทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนสากลจักรวาลนี้เขาย่อมเข้าถึงซึ่งแสงสว่างเท่านั้น จิตเขายังไม่หลุดพ้น
- อย่าใช้คำว่า “ตถาตา” (ความเป็นเช่นนั้นเอง) ไปเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของกฎพระไตรลักษณ์ ตถาตา จะเห็นได้ต่อเมื่อบุคคลนั้นมีจิตหลุดพ้นแล้ว
- บุคคลที่เอาสติไปรวมกับใจมากๆแล้วเห็นว่า กิเลสตัณหาเข้ามาไม่ได้ ถ้ามีสติอยู่บุคคลนี้จิตย่อมไม่หลุดพ้น
- บุคคลที่ใฝ่หาธรรมที่ใจ เขาย่อมไม่เข้าถึงที่ซึ่งความหลุดพ้น
- บุคคลที่รู้ว่าใจและจิต สะอาด สว่าง สงบ จิตย่อมไม่หลุดพ้น
- บุคคลที่รู้เห็นว่า ตนเองได้นิพพาน และตนเองได้เคยไปเมืองนิพพานมาแล้ว จิตย่อมไม่หลุดพ้น
- บุคคลที่เข้าใจว่าขณะนี้พระพุทธเจ้ากำลังอยู่เมืองนิพพาน และเมื่อเขาตายแล้วจะไปอยู่เมืองนิพพาน เพราะถูกภาพมายาของใจหลอก
- บุคคลที่รู้เห็นว่า จิตว่างจากตัวตน ของตน จิตย่อมไม่หลุดพ้น
- บุคคลที่เจริญสติ ตามรู้ตามเห็นอาการของใจและจิต ย่อมไม่เข้าถึงซึ่งความหลุดพ้น
- บุคคลที่ยกจิตขึ้นไปเหนืออารมณ์ แล้วปล่อยให้ใจไหลเป็นกระแส ย่อมไม่เข้าถึงซึ่งความหลุดพ้น
- บุคคลที่จะเอากายละเอียดไปเป็นพระอริยะบุคคล ย่อมไม่เข้าถึงซึ่งความหลุดพ้น
- บุคคลที่ใฝ่หาธรรมทั้งๆที่จิตของตนยังไม่หลุดพ้นย่อมมองไม่เห็นธรรมแม้แต่น้อย
- บุคคลที่มองเห็นธรรมที่ใจ ย่อมถูกมายาภาพของใจหลอกอยู่ตลอดเวลา
- บุคคลที่ยึดเวลา อดีต ปัจจุบัน อนาคต ย่อมไม่เข้าถึงซึ่งความหลุดพ้น
- บุคคลที่ยึดความสุดโต่งในสังขารทั้งหลาย ย่อมไม่เข้าถึงซึ่งความหลุดพ้น
- บุคคลที่เข้าใจว่าตัวเองหลุดพ้นแล้ว ยังไม่ละความหลุดพ้นนั้น ย่อมไม่เข้าถึงซึ่งความหลุดพ้น
- ศัตรูที่สำคัญที่กั้นจิตไม่ให้หลุดพ้นคือใจ
- จิตที่โง่ยอมเป็นข้าทาสของใจอยู่เสมอ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว จิตย่อมเป็นนายของใจอยู่ตลอดเวลา