080-5519598 (คุณแก้ว) [email protected]
Select Page

มกราคม

ด๊อกเตอร์สองคนคุยกันไม่รู้ภาษา  (เพราะหลงภาษา)

ชาวนาสามารถสอนควายให้ไถนาได้ (เพราะไม่รู้ภาษา)

อวิชชาจึงมิใช่แปลว่าความไม่รู้  แต่คือความรู้ผิด  (รู้ในสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์)

สังคมไม่ดี มิใช่เป็นเพราะคนไม่ได้รับการศึกษา  แต่เป็นเพราะคนได้รับการศึกษาที่ผิด  (ยิ่งเรียนยิ่งเห็นแก่ตัว)

กุมภาพันธ์

“คิดในสิ่งที่เป็นอกุศล
คนอื่นอาจจะไม่รู้
แต่จิตรู้”

“พูดในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง
อาจจะหลอกคนอื่นได้
แต่หลอกจิตไม่ได้”

“ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ
อาจจะไม่มีใครเห็น
แต่จิตเห็น”

“ไม่มีความลับในโลกนี้
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม”

มีนาคม

“ธรรมดี  ไม่ละชั่ว  มันจะไปไหน”

หลวงพ่อชา

เมษายน

“ละชั่ว ดีกว่าทำดี”

หลวงปู่ดุล

พฤษภาคม

การขยันพูดความจริงในทุกๆเรื่อง
เลวร้ายยิ่งกว่าการโกหกเพื่อให้ในบางครั้ง

มิถุนายน

ของดีไม่มีราคา ของมีราคาเป็นแค่สินค้า ไม่ใช่ของดี

กรกฎาคม

อารมณ์มีไว้ให้เห็น  ไม่ได้มีไว้ให้เป็น

สิงหาคม

จริยธรรมมิใช่วิชามาเรียนมาสอน

แต่เป็นจริยวัตรที่ต้องทำตามปกติ

กันยายน

โอวาทปาติโมกข์  คือ  คำสั่งสอน  คำแนะนำที่เป็นหลัก  เป็นประธาน
โอวาทปาติโมกข์  หมายถึง  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  สำหรับถือเป็นหลักปฎิบัติในแนวเดียวกัน  เป็นคำสั่งสอนที่พระพุทธเจ้า  ประธานให้แก่พระสาวก  สำหรับไปประกาศพรหมจรรย์  ชี้ทางพ้นทุกข์ให้สัตว์โลก  หรือเป็นตัวศาสนาก็ได้  มี 3 ข้อคือ

  1. ไม่ทำบาปทั้งปวง  หมายถึง เว้นจากการทุจริต คือ ประพฤติชั่วด้วย  กาย  วาจา  ใจ
  2. ยังกุศลให้ถึงพร้อม  หมายถึง  ประกอบสุจริต  คือ  ประพฤติชอบด้วย กาย  วาจา  ใจ
  3. ทำใจของตนให้ผ่องใส  หมายถึง  ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย  มี  โลภ  โกรธ  หลง  เป็นต้น

            โอวาทปาติโมกข์  เป็นคำสั่งสอนหลักเป็นประธาน  ซึ่งเป็นคำสั่งสอนที่พระพุทธเจ้าประทานให้แก่พระสาวก  สำหรับ  ถือเป็นหลักปฎิบัติในแนวเดียวกัน
ส่วนคำตรัสย่อยต่อสาวกเป็นรายบุคคล  ตรัสตามจริยของแต่ละบุคคล  เป็น อนุสาสนีย์ปาฏิหาร์ยเพื่อให้เกิดปัญญา  ตามจริตที่ไม่เหมือนกัน  การที่ให้ทุกคนต้องท่องจำ  คำตรัสย่อยต่างๆ  เพื่อให้ปฏิบัติเหมือนกันหมด  จึงไม่ตรงตามความเป็นจริง

            สิ่งซึ่งต้องยึดเป็นหลักปฏิบัติแนวเดียวกันคือ  ละชั่ว  ทำดี  ขัดเกลาจิตให้ผ่องแผ้ว   ส่วนจะใช้อุบายอะไรในการ  ละชั่ว  ทำดี  ขัดเกลาจิตให้ผ่องแผ้ว  นั้น  ก็แล้วแต่จริตของแต่ละบุคคล

ตุลาคม

อุปทาน:  คือ  ความยึดมั่นถือมั่น  หมายถึงการยึดมั่นที่ผิด  ด้วยอำนาจกิเลส  โดยนึกหรือเข้าใจเอาเองว่า  เป็นอย่างนั้น  เป็นอย่างนี้  หรือ  การนึกเอาเองว่า  เป็นอย่างนั้น  เป็นอย่างนี้ หรือ  การนึกเอาเองเข้าใจเอาเอง  แล้วยึดมั่นถือมั่นว่า  ต้องเป็นอย่างนั้น  ต้องเป็นอย่างนี้
อุปทาน:  จัดเป็นผลของกิเลสอย่างหนึ่ง  ที่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายเศร้าหมอง  เช่น  หากยึดมั่นในกามตัญหา  ก็จะทำให้เกิดความริษยา  หึงหวง  หากยึดมั่นในความคิดเห็น  ก็จะทำให้มีทิฏฐิมานะสูง  หากยึดมั่นในธรรมเนียม  ก็จะทำให้งมงายเชื่อง่าย  หากยึดมั่นในตนเอง  ก็จะทำให้ทะนงตัว  เย่อยิ่ง  จองหอง  ถือเราถือเขา  ยกตนข่มท่าน

            “กิเลสทำให้เกิดตัญหา  ตัญหาทำให้เกิดอุปทาน  อุปทานทำให้เกิดทุกข์”

 พฤศจิกายน_

*รู้ธรรม คือ รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
*เห็นธรรม คือ เห็นตามความเป็นจริง
*รู้ธรรมไม่ได้แปลว่ารู้มาก
*เห็นธรรม ไม่ได้เห็นจากการปรุงแต่ง

ธันวาคม

ความจริงมีหนึ่งเดียว
มุมมองต่อความจริง คือ ความลวง เป็นแค่ความเห็น

การนำความรู้มาแสดงความคิดเห็น ยังไม่ใช่ความจริง เป็นการคาดเดา

พระพุทธเจ้ามีหน้าที่บอกให้รู้
เรามีหน้าที่ทำให้รู้แจ้ง แล้วเข้าถึง