อายตนะวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นการนำอายตนะมาเป็นฐานที่ตั้งแห่งการเจริญวิปัสสนา
เจริญวิปัสสนา คือ ขบวนการทำให้เกิดความรู้แจ้งเห็นความจริงซึ่งมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ความรู้ซึ่งทำให้เห็นความจริงซึ่งมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ก็คือ วิปัสสนาญาณ
อายตนะภายนอก 6 คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์ อายตนะภายใน 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายในแบ่งเป็นข้างนอก 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย มีหน้าที่รับรู้ผัสสะ ข้างในหนึ่งคือใจ มีหน้าที่รับรู้อารมณ์ (เวทนา)
วิญญาณ 6 คือ จักษุวิญญาณ คือ วิญญาณซึ่งอาศัยตาเป็นตัวรับรู้รูป
โสตวิญญาณ คือ วิญญาณซึ่งอาศัยหูเป็นตัวรับรู้เสียง
ฆานะวิญญาณ คือ วิญญาณซึ่งอาศัยจมูกเป็นตัวรับรู้กลิ่น
ชิวหาวิญญาณ คือ วิญญาณซึ่งอาศัยลิ้นเป็นตัวรับรู้รส
กายวิญญาณ คือ วิญญาณซึ่งอาศัยกายเป็นตัวรับรู้ผัสสะ
มโนวิญญาณ คือ วิญญาณซึ่งอาศัยใจเป็นตัวรับรู้อารมณ์
เมื่ออายตนะภายนอกมากระทบอายตนะภายใน ถ้าวิญญาณเกิด การรับรู้ผัสสะก็เกิดขึ้น ถ้าวิญญาณดับ ผัสสะยังไม่สมบูรณ์ การรับรู้ผัสสะยังไม่เกิดขึ้น เช่น ถ้าเรากำลังนอนหลับสนิทมีเสียงคนร้องไห้ เสียงร้องไห้ก็จะมากระทบที่หู แต่โสตวิญญาณไม่ทำงาน ผัสสะไม่สมบูรณ์ เราก็ไม่ได้ยินเสียง ถ้าวิญญาณที่หูเกิดอยู่การรับรู้ผัสสะก็เกิดขึ้น สักแต่ว่าได้ยินเสียง ไม่รู้ว่าเสียงอะไร ต้องส่งกระแสไปที่มโนวิญญาณ ถ้าเป็นคนไทยก็รู้ว่าเสียงนายแดง ถ้าเป็นฝรั่งก็รู้ว่าเสียง MR.RED รู้ตามโปรแกรมภาษาที่บันทึกไว้ ขั้นตอนนี้ถ้ามโนวิญญาณสักแต่ว่ารู้แล้วก็วาง ขันธ์ 5 ก็ปรุงแต่งต่อไม่ได้ เวทนาก็ไม่เกิด
ตราบใดที่ยังไม่ละสังขาร อายตนะก็ยังทำหน้าที่อยู่ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกรู้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส การรู้สัมผัส ใจรับรู้อารมณ์ การฝึกฝนเจริญสติ เร่งสติให้รู้เท่าทันอายตนะจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก รูป-นาม เกิดดับเร็วมาก ถ้าไม่มีสติที่เร็วกว่า ขันธ์ 5 ก็ปรุงแต่งได้ตลอดเวลา รูปเกิด เวทนาเกิด สัญญาเกิด สังขารเกิด วิญญาณเกิด การสร้างกรรมจึงเกิดขึ้นตลอดเวลา มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม เหตุที่อารมณ์รูป-นาม เกิดดับเร็วมาก การปฏิบัติเจริญสติให้รู้เท่าทันจึงเป็นสิ่งจำเป็น เหมือนเวลาเราฝึกยิงปืนเป้าบิน สักแต่ว่าเห็นก็ต้องยิงทันที เราไม่มีเวลาพอที่จะไปเพ่งพิจารณาเป้าบินนั้นจะตกก่อน ถ้าเป็นอารมณ์ก็จะลงไปที่ใจทันที ทำให้เกิดเวทนา ขันธ์ 5 ก็มีโอกาสปรุงต่อไปได้
อายตนะบรรพ อยู่ในหมวดธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นฐานหนึ่งของสติปัฏฐาน 4 สติปัฏฐาน หรือที่ตั้งแห่งการเจริญสติ คือหัวใจของวิปัสสนาแยกออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งคือผู้เพ่ง อีกส่วนหนึ่งคือตัวถูกเพ่ง ตัวถูกเพ่งก็คือ กาย เวทนา จิต ธรรม รวมกันเรียก สติปัฏฐาน4
กายานุปัสสนา คือ รูปขันธ์ เป็นรูปธรรม
เวทนานุปัสสนา คือ เวทนาขันธ์ เป็นนามธรรม
จิตตานุปัสสนา คือ วิญญาณขันธ์ เป็นนามธรรม
ธรรมานุปัสสนา คือ ขันธ์ทั้ง 5 เป็นรูปธรรมและนามธรรม
สติปัฏฐาน 4 ก็คือรูป – นาม นั่นเอง การที่จะใช้รูปนามอะไรก็ได้ มาเป็นฐานของการเจริญสติ ก็ถือว่าอยู่ในข่ายของสติปัฏฐาน 4 ทั้งนั้น สติปัฏฐาน 4 แต่ละส่วนก็แยกออกอีกเป็นหลายๆ บรรพ เฉพาะธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานก็มี 5 บรรพ คือ นิวรณ์บรรพ ขันธ์บรรพ อายตนะบรรพ โพชฌงค์บรรพ อริยสัจบรรพ จะพิจารณาบรรพไหนยังไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่ากับว่า พิจารณาเพื่ออะไร บางทีพิจารณาไป พิจารณามา ก็ไปหลงติดอยู่กับฐานที่พิจารณา ได้แค่ความสงบชั่วครู่ ปัญญาก็ไม่เกิดเพราะไปกดมันไว้จนลืมเป้าหมายของการปฏิบัติเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำให้เกิดปัญญาเพื่อให้พ้นทุกข์ ไม่ได้จบอยู่แค่สงบ
คำถาม การติดสุขและติดทุกข์ต่างกันอย่างไร? สิ่งใดคือติดสุข? แล้วสิ่งใดเล่าคือติดทุกข์?
คำตอบ : ติดสุข ติดทุกข์ ติดก็คือหลง ติดสุขหลงในกามคุณ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เป็นโลกียสุข เป็นความสุขแบบโลกๆ คือเมื่อได้มาซึ่งในสิ่งที่ตนเองต้องการ ชอบใจ พึงพอใจ หรือความสะดวกสบายแล้วรู้สึกสุข แต่เมื่อเกิดความผิดหวังหรือสูญเสียทำให้ไม่พอใจ ก็เลยทำให้เกิดทุกข์ เจ้าชายสิทธัตถะ 29 พรรษาถูกบำรุง บำเรอด้วยโลกียสุข ทำให้ไม่เห็นทุกข์ 6 พรรษา เพื่อมุ่งแสวงหาโมกขธรรมโดยใช้วิธีทุกข์กิริยา ทรมานสังขารก็ไม่ทำให้บรรลุธรรมได้ สุข ทุกข์ เป็นภาษามนุษย์ที่สะท้อนให้เห็นอารมณ์ ถ้าพอใจก็สุข ถ้าไม่พอใจก็ทุกข์ เหมือนคนชอบเล่นกีฬา เมื่อได้เล่นแล้วถึงจะเหนื่อยแค่ไหนก็รู้สึกพอใจ เรียกว่ามีความสุข ถ้าคนที่ไม่ชอบเล่นถูกบังคับให้เล่นก็จะรู้สึกไม่พอใจ อารมณ์อย่างนี้เรียกว่าทุกข์ อารมณ์สุข – ทุกข์ ถ้ามีสติรู้เท่าทันก็จะรู้สึกแต่ว่าเกิดดับ แต่ถ้าขาดสติก็ทำให้ไปยึดติดกับอารมณ์นั้น ทำให้ย้ำคิด ย้ำทำ พัฒนาไปสู่การสร้างกรรมใหม่ได้
คำตอบ : การแสวงหาการพ้นทุกข์ เพราะมนุษย์มีทุกข์เป็นประธาน เริ่มจากเกิดมาวันแรกก็ทุกข์ (ร้องไห้) แก่มาก็ทุกข์ เจ็บก็ทุกข์ ตายก็ทุกข์ (ยังไม่อยากตาย) ไม่ติดสุข ทุกข์ไม่เกิด ทุกข์ไม่เกิด สุขก็เกิด ถึงแม้จะไม่ติดสุขอย่างมากก็แค่ทุกข์ไม่เกิด แต่ก็ยังไม่พ้นทุกข์ ยังต้องเวียรว่ายตายเกิดอีก เพราะสุขจริงๆ ในโลกนี้ไม่มี เป็นความสุขซึ่งเกิดจากการปรุงแต่งขึ้นมาเอง การแสวงหาหนทางแห่งการพ้นทุกข์จึงมิใช่แค่การพ้นสุข อารมณ์รูปนาม ต่างๆ มากระทบอายตนะแล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา แต่ถ้าสติไม่ทันก็จะไปกระเทือนที่ใจ ทำให้เวทนาเกิด สัญญาที่บันทึกความทรงจำว่าชอบหรือไม่ชอบก็เกิดขึ้น สังขารความคิดปรุงแต่งจึงเกิดขึ้น (มโนกรรม) ถ้าสติหยุดไม่ทัน วิญญาณก็เกิด วจีกรรม หรือกายกรรมก็ตามมา การสร้างกรรมจึงเกิดขึ้
คำตอบ : กรรมเก่าบวกกรรมใหม่คือผล บุญเก่าบวกบุญใหม่คือผล สุภาพสตรีท่านหนึ่งขับรถไปยางรถระเบิด มีชายฉกรรจ์ 5 คนขับรถมาช่วยแก้ปัญหา สุภาพสตรีอีกท่านหนึ่งขับรถไปยางรถระเบิด ชายฉกรรจ์ 5 คนขับรถมาฆ่าข่มขืน อุบัติเหตุทั้ง 2 อย่างนี้ ทำไมคนหนึ่งรอด คนหนึ่งตาย อุบัติเหตุไม่ได้แปลว่าบังเอิญ แต่อุบัติขึ้นตามเหตุที่เคยสร้างมา การตั้งโปรแกรมอายุยืน 120 ปี เป็นการสร้างอธิษฐานบารมีอย่างหนึ่ง มีผลให้มีกรรมตั่งมั่นและใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเอง มีผลอยู่บ้าง แต่ไม่ใช่สูตรตายตัวว่าทุกอย่างต้องเป็นไปตามคำอธิษฐาน ทุกอย่างเกี่ยวข้องกับกระแสกรรมที่ทำไว้ด้วย ถ้าอายุยาวร่างกายแข็งแรงเพื่อจะไปสร้างเวรสร้างกรรมเพิ่ม จะทำให้เสียชาติเกิด ทำให้ขาดทุน รีบตายเร็วๆ ดีกว่า แต่ถ้าอายุยาวแล้วมุ่งมั่นสร้างบารมีก็เป็นสิ่งที่ดี บางทีร่างกายแข็งแรง จิตใจก็ดี แต่ก็เกิดอุบัติเหตุทำให้อายุสั้นได้ มันไม่เที่ยง เป็นไปตามเหตุปัจจัย
คำตอบ : การไปยึดติดกับอะไรก็คือการหลง ก็เป็นกิเลส พระไตรปิฎกเปรียบเสมือนแผนที่หรือลายแทง มีประโยชน์ยึดเป็นแนวทางเพื่อปฏิบัติ แต่ถ้าไปยึดมั่นถือมั่น หรือไปยึดติดก็ทำให้เกิดโทษได้ ด๊อกเตอร์ 2 คนจบเปรียญเก้าทางพุทธศาสนา คนหนึ่งแปลนิพพานว่าอัตตา คนหนึ่งแปลว่าอนัตตา เกิดการขัดแย้งกันขึ้น พระพุทธองค์ทรงดำริว่า “ท่านจงมาดูเถิด ปฏิบัติเถิด ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต” สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้คือความจริง สิ่งที่พระองค์ทรงสอนคือภาษาภาษาที่มนุษย์สร้างขึ้นหยาบเกินไปที่จะอธิบายสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระองค์ใช้ภาษามนุษย์แค่เป็นสื่อบอกให้ปฏิบัติเอง เมื่อเข้าถึงธรรมแล้วจึงจะเข้าใจ สิ่งที่พระพุทธองค์ประสงค์อยากให้รู้ เพราะสิ่งที่พระองค์ทรงตรัสรู้นั้นถ่ายทอดโดยภาษาไม่ได้
การศึกษาขั้นพื้นฐาน : พื้นฐาน (BASIC) ที่มนุษย์สมควรศึกษาเรียนรู้ในเบื้องต้น น่าจะเป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาอุปนิสัยให้มีอุปนิสัยใฝ่เรียนรู้ รู้รับผิดชอบตัวเองและส่วนรวม รู้บาปบุญคุณโทษ รู้ผิดชอบชั่วดี รู้จักบริหารชีวิตตนเองให้อยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข ไม่ใช่การศึกษาเพื่อไปเพิ่มความรู้ทางวิชาการดั่งที่ทำกันอยู่ในปัจจุบัน เด็กๆ ถูกบังคับให้ไปท่องจำข้อมูล (DATA) ทางวิชาการต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ฯลฯ แล้วประเมินผลโดยทดสอบดูว่าใครจำเก่งกว่ากัน เด็กไม่กล้าคิด ไม่กล้าพูด ไม่กล้าทำ ถึงจะฝึกให้คิดบ้าง ก็คิดอยู่ในกรอบทฤษฎีที่กำหนดไว้ ไม่กล้าที่จะคิดนอกกรอบ ข้อมูลทางวิชาการต่างๆน่าจะเป็นแค่อุบาย เป็นเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อพิจารณาให้เด็กมีอุปนิสัยใฝ่เรียนรู้เท่านั้น แต่ปัจจุบันกลายเป็นเป้าหมายหลักของการศึกษา การท่องจำเลียนแบบทฤษฎีและข้อมูลทางวิชาการต่างๆ เพื่อให้สอบผ่าน เพื่อไปเป็นนักการทำงานสนองตอบทุนนิยม เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี เขาก็ให้ออกจากงาน กลายเป็นคนตกงาน
ระดับประถมศึกษารู้มาว่า ประเทศญี่ปุ่นเขาจะไม่สอนภาษาต่างชาติ วิชาหลักที่สอนคือ
1. คาราโอเกะ คือ ใช้ภาษาญี่ปุ่นร้องเพลงรักชาติ กตัญญูรู้คุณแผ่นดินเกิด รู้จังหวะจะโคน รู้ควบคุมอารมณ์ รู้ความเป็นญี่ปุ่น
2. พละศึกษา เตรียมพร้อมร่างกายที่แข็งแรง รู้กติกา มีวินัย รู้หน้าที่ อดทน มีน้ำใจนักกีฬา
3. วาดเขียน กล้าจินตนาการ มีสมาธิ เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานเตรียมคนให้มีคุณภาพ มีความรับผิดชอบ มีวินัย เพื่อเตรียมตัวไปสร้างอนาคตให้กับตนเองและประเทศชาติ
ทั้งสามวิชาหลักเป็นการศึกษาโดยการลงมือปฏิบัติจริง (Learning By Doing) เป็นความรู้ซึ่งติดตัวไปตลอดชีวิต เป็นนักเรียนรู้ มิใช่นักเลียนแบบ
การศึกษาขั้นพื้นฐานในบ้านเราจึงถึงเวลาที่จะต้องกล้าเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง จากเป้าหมายการศึกษาเพื่อรู้วิชา ให้กลายเป็นการศึกษาเพื่อชีวิต โดยยึดหลักการศึกษาเพื่อพัฒนาอุปนิสัยให้ดีขึ้น มีอุปนิสัยใฝ่เรียนรู้ รู้หน้าที่ รับผิดชอบตนเองและสังคม
การพัฒนาอุปนิสัย จะทำให้ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต ต้องเริ่มต้นจากการฝึกฝนปฏิบัติจริง มิใช่มาท่องจำทฤษฎีและข้อมูลทางวิชาการ แล้วประเมินผลทดสอบความจำกัน ใครจำเก่ง คือ มาตรวัดความรู้ (เป็นแค่ความจำไม่ใช่ความรู้จริง)
อุปนิสัยหลักที่มนุษย์ควรจะมีเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต คือ ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา (ไตรสิกขา) เป็นสามวิชา ที่ทำให้มนุษย์รู้จักแยกแยะถูกผิด ชั่วดี มีเมตตากรุณา มุทิตา อุเบกขา(พรหมวิหาร) มีความตั่งมั่นในหน้าที่การงาน มีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา (อิทธิบาท4) มีวิสัยทัศน์ รู้ที่มาของปัญหาอย่างชาญฉลาด และมีอุปนิสัยใฝ่เรียนรู้ ส่วนทฤษฎีและข้อมูลทางวิชาการสามารถค้นคว้า เรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต
“สังคมไม่ดี มิใช่เป็นเพราะคนไม่ได้รับการศึกษา แต่เป็นเพราะคนได้รับการศึกษาที่ผิด”
“มีอวิชชา คือ มีความรู้ผิด มิใช่ ไม่รู้”
“มีวิชชา ไม่ใช่มีความรู้ แต่มีความรู้ที่ถูกต้อง คือรู้แล้วพ้นทุกข์ได้”
ยุคปัจจุบัน ขบวนการการศึกษาถูกความคิดแบบวิทยาศาสตร์ครอบงำ “จำแนกแยกแยะหาเหตุเพื่อหวังผล ยิ่งแยกยิ่งเยอะ ยิ่งแยะยิ่งสับสน” แตกแขนงออกเป็นหลายๆวิชา โดยมีวัตถุประสงค์ให้แตกฉานในวิชานั้นๆ เพื่อใช้เป็นอาวุธทางปัญญาจะได้เปรียบคนอื่น ตอบสนองทุนนิยมแข่งขันเสรี โดยมีทุนเป็นศูนย์กลาง ความรู้ทุกอย่างที่ถูกค้นคว้าวิจัยขึ้นมาเป็นเพียงเครื่องมือในการสร้างทุน ทรัพยากรของโลก ทั้งบนดิน ใต้ดิน บนอากาศ ถูกนำมาใช้อย่างฟุ้งเฟื้อ ฟุ่มเฟือย เพื่อเอามาเปลี่ยนเป็นทาน การศึกษาแบบแยกส่วน “ยิ่งแหลมยิ่งคับแคบ ยิ่งคมยิ่งเปราะบาง” กลายเป็นคนมีวิสัยทัศน์คับแคบ มองอะไรมองแค่มุมเดียว ไปหลงในความรู้นั้นจนเกิดอัตตาตัวตน แตะต้องไม่ได้เลย กลายเป็นคนเปราะบางมากโดยไม่รู้ตัว
การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน ปัจจุบันเป็นแค่การเข้าคอร์สฝึกเป็นวิชา วิชาทำสมาธิ วิชาเจริญสติต่างๆ การปฏิบัติธรรม คือการกระทำเพื่อให้เข้าถึงธรรมชาติ ไม่ใช่มาเพิ่มความรู้เทคนิคทางวิชาการ วิชาการต่างๆเป็นแค่อุบาย เป็นแค่เครื่องมือทำให้เกิดสิ่งต่างๆขึ้น เช่น การทำสมาธิโดยใช้เทคนิคต่างๆเพื่อให้เกิดสมาธิ เมื่อเกิดสมาธิแล้วก็นำสมาธินั้นไปทำสิ่งที่ชอบก็เป็น สมาธิชอบ เป็นหนึ่งในมรรคที่องค์แปด การเจริญสติ เร่งสติ ก็เพื่อทำให้เกิดสติ เมื่อเกิดสติแล้วนำไปใช้ในสิ่งที่ชอบ ก็เป็น สติชอบ เป็นหนึ่งในมรรคมีองค์แปด ถ้าจบอยู่แค่นี้พลังมรรคก็ไม่ครบองค์ ความพ้นทุกข์ยังอีกห่างไกล วิธีที่ทำให้เกิดสมาธิ เกิดสติ ก็เป็นแค่อุบายวิธี บางทีทำไปทำมาก็ไปหลงติดอยู่ที่อุบายวิธีว่าเป็นเป้าหมาย เลยชูธงว่าเป็นทางสายเอก เมื่อมีทางสายเอกก็เลยมี สายโท สายตรี และอีกหลายๆสายเกิดขึ้นมามากมาย เป็นการสร้างของคู่ขึ้นมาใหม่ลำพังของคู่ซึ่งมีอยู่แล้วตามธรรมชาติก็ยากที่จะแยกแยะอยู่แล้ว ยังช่วยกันไปสร้างของคู่ขึ้นมาใหม่มากมาย ทำให้เกิดความขัดแย้งกันขึ้น กลายเป็นการแข่งขันกันทางอุบายวิธี อุปนิสัยที่ถูกฝึกขึ้นมาตามขบวนการการศึกษา ซึ่งกระตุ้นให้มีการแข่งขัน ทำให้เกิดอุปาทานขึ้น อยากเป็นที่หนึ่ง จึงพยายามชูธงอุบายวิธีต่างๆ ให้เหนือกว่าผู้อื่น เพื่อความเป็นเลิศ อุบายวิธีกลายเป็นเป้าหมาย ถ้าไม่ระมัดระวังจะทำให้หลุดออกจากองค์มรรคได้ จริงๆแล้ว เป้าหมาย สูงสุดของพุทธศาสนาน่าจะอยู่ที่ สมาธิ ศีล ปัญญา เมื่อจิตเกิดปัญญาแล้ว ก็ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นได้ผลสูงสุดจึงอยู่ที่นิพาน มรรค ผล นิพพาน มิใช่จบอยู่แค่สติ ทางที่จะมุ่งสู่นิพพานจึงเป็นทางสายกลาง ซึ่งไม่มีของคู่ ก็คือ “มรรคมีองค์แปด” ส่วนอุบายวิธีที่จะทำให้ เกิด สมาธิ ศีล ปัญญา ก็ขึ้นอยู่กับจริตของแต่ละคน เพราะพระพุทธองค์ก็ทรงตรัสไว้ให้เป็นตัวอย่างในหลายวิธี เพื่อให้เหมาะกับจริตของแต่ละดวงจิต จึงไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่นใน อุบาย วิธีนั้นๆ จนหลงว่าเป็น เป้าหมาย จะทำให้การเดินทางไม่ก้าวหน้า แต่ควรใช้วิธีนั้นๆ อย่างตั้งมั่น แล้วก็วางไปเรื่อยๆ สักวันหนึ่งก็คงถึงที่หมายได้เหมือนกัน สิ่งสำคัญ คือ ต้องเจริญมรรคให้สมบรูณ์ ไม่ใช่ไปติดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มรรคมีองค์แปด คือ เห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ การกระทำชอบ อาชีพชอบ ความเพียรชอบ สติชอบ และ สมาธิชอบ เมื่อมรรคดำเนินไปเรื่อยๆ ผลก็เกิดขึ้นเรื่อยๆ ผลสูงสุดก็คือ นิพพาน
ความรู้และปัญญาต่างกันอย่างไร?
เด็กฝาแฝดคู่หนึ่งเกิดมาไล่เลี่ยกัน คุณแม่ไปดูดวงว่า เด็กที่เกิดมาก่อนหนึ่งนาทีจะมาล้างผลาญ จึงจ้างคนให้เอาไปทิ้งที่ป่าไกลๆ ไม่ให้รู้ว่าแม่เป็นใคร ส่วนอีกคนหนึ่งส่งเสียให้เรียนจนจบเป็นด๊อกเตอร์ 30 ปีให้หลัง นำเด็กสองคนมาเจอกัน ถามว่าระหว่างด๊อกเตอร์และทาซาน ใครทุกข์มากใครทุกข์น้อย ด๊อกเตอร์กำลังทำงานอยู่ นาฬิการุ่นเก่าก็ส่งเสียงสัญญาณว่าเที่ยงแล้ว เที่ยงแล้ว ด๊อกเตอร์ไม่ได้ยิน ร่างกายเราซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์ก็ส่งสัญญาณเตือยภัย โดยท้องก็ร้องกร๊อกๆ ว่าเธอหิวแล้ว ถึงเวลากินข้าวแล้ว ความรู้ของด๊อกเตอร์บอกว่ากินยังไม่ได้ งานไม่เสร็จจะไม่รวย ก็ทำงานต่อไปจนถึงเที่ยงคืน นาฬิกาก็ส่งสัญญาณเตือนว่าเที่ยงคืนแล้ว ด๊อกเตอร์ไม่ได้ยิน ร่างกายก็ส่งสัญญาณเตือนภัย โดยหาวใหญ่เลย ความรู้ของด๊อกเตอร์บอกว่า พรุ่งนี้เช้าต้องส่งงาน งานไม่เสร็จจะไม่รวย จึงยังนอนไม่ได้ทำงานจนถึงสว่าง ไปส่งงานได้เงินมาล้านหนึ่ง มารักษาโรคเครียดโรคมะเร็ง ส่วนทาซานไม่โง่เหมือนด๊อกเตอร์ ทาซานไม่ทุกข์เพราะหิว ไม่ทุกข์เพราะง่วง เพราะทาซานไปกินก่อนหิว ไปนอนก่อนง่วง หิวก็กิน ง่วงก็นอน เป็นไปตามเหตุปัจจัยตามธรรมชาติ ไม่มีอวิชชาหรือความรู้ผิด เป็นความรู้ซึ่งแฝงด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นที่มาของตัญหา ตัญหาทำให้เกิดอุปาทาน อุปาทานทำให้เกิดทุกข์
“ด๊อกเตอร์มีความรอบรู้เรื่องวิชชาที่เรียน แต่ไม่รู้รอบเรื่องกฎแห่งกรรม”
“ทาซานมีสัญชาติญาณ เดินตามธรรมชาติ ไม่ถูกความรู้ผิดครอบงำ จึงไม่หาเรื่องทุกข์ สัญชาติญาณ คือ ญาณรู้ซึ่งเป็นสัญญาเดิมของอดีตชาติ เป็นปัญญาขั้นพื้นฐานของสัตว์โลกทั้งหลาย”
ธรรมะหรืออุดมการณ์?
มหาตมะคานธี รัฐบุรุษโลกคนหนึ่ง ซึ่งกล่าวไว้ว่า “เปลี่ยนโลกต้องเปลี่ยนตัวเอง” เป็นทฤษฎีซึ่งตัวท่านเองก็พยายามเปลี่ยนตัวเอง จากความเป็นนักเรียนนอก ซึ่งอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่หรูหรา แวดล้อมด้วยผู้คนที่เรียกว่าปัญญาชน มาดำรงชีวิตอย่างสังคมเรียบง่าย เป็นตัวอย่างที่ดีซึ่งมีค่ากว่าคำสอน การล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตก ทำให้ผู้คนซึ่งอยู่ในประเทศซึ่งเป็นฝ่ายที่ถูกล่า มีความรู้สึกว่าถูกเบียดเบียนไม่เป็นธรรม ท่านมหาตมะคานธีจึงลุกขึ้นเป็นผู้นำต่อต้านและต่อสู้จนประเทศได้รับอิสรภาพคืนมา ยังไม่ได้หยุดหายใจเลยคนในชาติเองจากลัทธิสองฝ่ายก็แก่งแย่งชิงอำนาจกัน จนท่านมหาตมะคานธีก็ถูกลอบสังหาร สังเวยความอยาก ของมนุษย์ (อยากดี อยากชั่ว อยากชนะ อยากได้เปรียบ อยากสบาย อยากเก่ง อยากสวย อยากงาม อยากช่วยเหลือ อยากเปลี่ยนแปลง อยากรักษาไว้ อยากมีมากขึ้น อยากรวย ฯลฯ) จนปัจจุบันนี้ประเทศอินเดียสงครามกลางเมืองก็ยังมีอยู่ สงครามเศรษฐกิจและสังคมการเมืองก็ดำเนินต่อไป อีกล้านปีข้างหน้าก็ยังเป็นอยู่ เป็นไปตามโลกธรรมซึ่งมีกฎแห่งกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน มีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ มีสรรเสริญมีนินทา มีสุขมีทุกข์ เปลี่ยนโลกจึงมิใช่ไปเปลี่ยนคนอื่น หรือไปทำร้าย เช่น ฆ่าคนอื่น แต่ต้องมาเปลี่ยนที่ตัวเอง “เปลี่ยนตัวเองให้ยอมรับความเป็นโลก”
ศาสนามิได้สอนให้คนเท่าเทียมกัน แต่สอนให้ยอมรับในความแตกต่าง ตั้งแต่เกิดมาก็มีไอคิวไม่เท่าเทียมกัน อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีความพร้อมที่แตกต่างกัน สร้างบุญกุศลมาไม่เท่าเทียมกัน อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีความพร้อมที่แตกต่างกัน สร้างบุญกุศลมาไม่เท่าเทียมกัน สร้างกรรมมาไม่เหมือนกัน ลัทธิความเชื่อที่พยายามจะทำให้คนเท่าเทียมกันจึงเป็นความเชื่อซึ่งไปฝืนระบบความเป็นจริงตามธรรมชาติ ลัทธินิกายจึงเกิดขึ้นมากมายตามความเชื่อที่แตกต่างกัน ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาของความมีจริตที่แตกต่างกัน แต่ถ้าเป็นการตั้งค่ายตั้งป้อมขัดแย้งกันเพื่อเอาชนะคระครานกัน ไม่ใช่ธรรมะแน่นอน
แก้วน้ำใบหนึ่งเอาทรายเทลงไปก็ไปอยู่ข้างล่าง เอาน้ำมันเทลงไปก็ลอยไปอยู่ข้างบน เอาเกลือเทลงไปก็ไปอยู่ตรงกลาง ทั้งหมดต่างคนต่างอยู่ “อยู่ร่วมกัน ไม่จำเป็นต้องขัดแย้งกัน” ทั้งหมดเป็นหนึ่งเดียว (อยู่ในแก้วใบเดียวกัน) หนึ่งเดียวคือทั้งหมด ทั้งหมดไม่ต้องเหมือนกัน ความเชื่อที่พยายามทำให้ทุกคนเป็นหุ่นยนต์เหมือนกันหมดเลย จึงมิใช่ธรรมะ แต่เป็นเพียงลัทธิอุดมการณ์เท่านั้นเอง
แสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง ยอมรับในความแตกต่าง ผู้ที่เหนือกว่าเอื้อเฟื้อผู้ที่ด้อยกว่า ผิดก็แก้ด้วยอภัยทาน เป็นทาน ศีล ภาวนา โดยการปฏิบัติจริง มิใช่เป็นแค่ทฤษฎี
คนโง่เป็นเหยื่อของคนฉลาด ไม่จริง คนฉลาดจริงๆไม่เอาคนโง่เป็นเหยื่อ คนเป็นเหยื่อคือคนไม่รู้ มิใช่คนโง่ คนโง่จริงๆคือคนหลงรู้แล้วเอาคนโง่เป็นเหยื่อ คนโง่เป็นเหยื่อของความอยาก
คนโง่ในยุคทุนนิยมแข่งขันเสรีนี้ หมายความถึงคนที่ไม่มีความรู้ ไม่รู้ศาสตร์วิชาต่างๆซึ่งเป็นเครื่องมือ เป็นอาวุธ เป็นอุปกรณ์ในการแข่งขัน ในการต่อสู้ เมื่อไม่รู้แล้วจึงกลายเป็นผู้แพ้เป็นผู้เสียประโยชน์ เรียกว่าคนโง่เพราะกลายเป็นเหยื่อของคนฉลาด
คนฉลาดในยุคทุนนิยมนี้ก็หมายความถึง คนที่มีความรู้เรื่องศาสตร์วิชาต่างๆ แล้วนำความรู้ที่มีอยู่ไปเอาเปรียบหรือชนะคนอื่นได้ เรียกว่าคนฉลาด
ส่วนในทางสายธรรมแล้ว แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร คือยอมแพ้คนเพื่อชนะกิเลส ดีกว่าแพ้กิเลสเพื่อชนะคน คนฉลาดจริงๆจึงต้องมีจิตใจที่เป็นพระ คือเป็นผู้ให้ไม่ใช่ผู้เอา โดยเฉพาะให้อภัยทาน
ทำบุญทำทาน บุญเกิดจากการให้ทาน คนฉลาดจริงๆจึงต้องทำแต่บุญไม่ทำบาป การไปหลอกให้คนอื่นมาเป็นเหยื่อ เพื่อจะเอาเปรียบเขาจึงมิใช่วิสัยของคนฉลาดที่จะทำอย่างนั้น เพราะการเบียดเบียนคนอื่นนั้นมันเป็นบาป เป็นทางมุ่งสู่นรก
ส่วนคนหลงรู้ คือคนที่ไปหลงอยู่กับความรู้ผิด ความรู้ซึ่งแฝงด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง นั้นถือว่าเป็นความรู้ผิด เพราะเป็นความรู้ซึ่งไปสร้างกรรม เบียดเบียนตัวเองและผู้อื่น ความรู้ผิดนี้ทำให้เกิดความอยาก (ตัณหา) ตัณหาทำให้เกิดอุปาทาน อุปาทานทำให้เกิดทุกข์
ความรู้ที่ถูกต้องคือ “วิชชา” ที่ถูกต้องนั้นเพราะรู้แล้วทำให้พ้นทุกข์ได้ มิใช่รู้แล้วทำให้รวยขึ้น เป็นแค่วิชาหาเงินเก่งเท่านั้นเอง (รวยแปลว่ามีมากขึ้น ไม่ได้แปลว่าสุข)
กตัญญู : ต้องรู้คุณรู้โทษ ไม่ได้แปลว่าสนองตัณหา
คุณแม่เป็นเบาหวาน แต่ชอบทานของหวานเป็นชีวิตจิตใจ ถ้าได้ทานแล้วจะรู้สึกมีความสุขมาก ลูกๆอยากให้คุณแม่มีความสุข จึงชอบหาของหวานมาให้คุณแม่ทานบ่อยๆ เพื่อแสดงออกถึงความกตัญญู ความกตัญญูโดยไม่คำนึงถึงผลที่จะตามมา ทำให้โรคเบาหวานของคุณแม่รุนแรงขึ้น เป็นการกตัญญูซึ่งขาดสติ ไม่รู้คุณรู้โทษ
ครูบาอาจารย์ที่ยังไม่เข้าสู่กระแสพระนิพพาน บางทีกระแสกรรมก็ส่งผลทำให้หลุดออกจากกระแสมรรคได้ พระพุทธองค์จึงทรงตรัสเตือนว่า อย่าพึ่งเชื่อครูบาอาจารย์ องค์คุรีมารก็ถูกครูบาอาจารย์หลอกให้ออกจากสำนักไปฆ่าคนหนึ่งพันคน จึงจะสอนวิชาพิเศษ บังเอิญองค์คุรีมารสร้างบุญกุศลเก่าไว้มากมาย จึงได้ลอดพ้นออกจากกระแสกรรมนั้นได้ มิฉะนั้นคงต้องรับหนี้กรรมที่ไปฆ่าคน 999 คนไปอีกหลายชาติ การสนองคุณครูบาอาจารย์ไม่ได้แปลว่าต้องสนองตัณหา การไม่ทำตามครูบาอาจารย์ในบางเรื่องก็ไม่ได้แปลว่าเป็นศิษย์ล้างครู กตัญญูต้องรู้คุณรู้โทษ มิใช่ถูกก็ทำผิดก็ทำ มิใช่เป็นการกตัญญู แต่เป็นการสร้างกรรมร่วมใหม่ ถ้าเป็นกรรมดีก็ขึ้นสวรรค์ร่วมกัน เสียเวลาไปเสพกรรมดีบนสวรรค์อีกยาวนาน ทำให้ทางไปสู่นิพพานยาวไกลออกไปอีก ถ้าทำกรรมชั่วร่วมกันก็ตามกันไปเสพกรรมชั่วในนรก
สามคนเดินไปด้วยกันต่างคนต่างเป็นครูบาอาจารย์ซึ่งกันและกันได้ เพราะต่างคนต่างมีความรู้ที่แตกต่างกันได้ สุดท้ายอาจารย์ก็สมมุติ ไม่มีอะไรใช่สักอย่างหนึ่ง อย่าไปยึดมั่นถือมั่น
“กิเลสทำให้เกิดตัณหา ตัณหาทำให้เกิดอุปาทาน อุปาทานทำให้เกิดทุกข์”
ทุกข์ คือ ผล
อุปาทาน คือ เหตุ
ตัณหา คือ สาเหตุ
กิเลส คือ ต้นเหตุ
สูบบุหรี่บ่อยๆสารนิโคตินก็สะสมในร่างกาย สร้างความเคยชินให้กับกายภาพ ในทางอารมณ์ก็ทำให้เกิดเป็นความเคยชินขึ้น ประทับจิต ติดวิญญาณ จนกลายเป็นกิเลส ตัณหาหรือความอยากจึงเกิดขึ้นตามความเคยชิน โดยรู้สึกว่าถ้าได้สูบบุหรี่แล้วจะรื่นเริง ผ่อนคลาย มีความสุข ถูกบ่มเพาะกลายเป็นอุปาทานขึ้น เมื่อให้ทำตามความต้องการแล้ว ก็จะรู้สึกว่ามีความสุข เมื่อมีความรู้สึกอยากจะสูบแต่ไม่มีจะสูบ หรือกำลังสูบอยู่แต่มีคนมาแย่งไป ความรู้สึกไม่พอใจก็จะเกิด ความทุกข์ก็เกิดขึ้น ความรู้ว่าเมื่อได้สูบบุหรี่แล้วจะมีความสุข จึงกลายเป็นความรู้ผิด ทำให้เกิดอวิชชาขึ้นในจิตใต้สำนึก
ถ้ากิเลส หมายถึง ความเศร้าหมองของจิต กิเลสจะกลายเป็นผล ในขณะที่กิเลสความจริงคือต้นเหตุ เพราะคำว่า ความเศร้าหมองของจิตเป็นผล ซึ่งเกิดกับจิต นาย ก มีกิเลสชอบกินแตงโม ความอยากกินแตงโมจึงเกิดขึ้น(ตัณหา) เมื่อได้กินแตงโมแล้ว ความรู้สึก พอใจ ยินดีปรีดาก็เกิดขึ้น แต่พอมีคนมาแย่งแตงโมไปต่อหน้า ความรู้สึกไม่พอใจ ความเศร้าหมองก็เกิดขึ้น กิเลสจึงเป็นต้นเหตุ ที่ทำให้เกิดความรื่นเริงก็ได้ เศร้าหมองก็ได้ ความรื่นเริงความเศร้าหมอง ไม่ใช่ตัวกิเลส แต่น่าจะเป็นผลของกิเลส แต่กิเลสทำให้จิตเดิมแท้ซึ่งเป็นประภัสสรนั้น เกิดความมัวหมองขึ้นกลายเป็นจิตปรุงแต่ง ทำให้จิตประภัสสรซึ่งบริสุทธิ์เกิดความมัวหมองขึ้น ความไม่บริสุทธิ์เกิดขึ้นแทนที่ความบริสุทธิ์ ทำให้เกิดตัณหาหรือความอยากขึ้นในจิตใจ เหมือนพกกระจกเงาใสแบบหนึ่ง เมื่อถูกฝุ่นละอองเกาะยึดจะทำให้มองเห็นเงาตัวเองไม่ชัดเจน ถูกกิเลสปรุงแต่งครอบงำจนแยกแยะไม่ออกว่า อะไรคือความจริงตามธรรมชาติ อะไรคือสิ่งปรุงแต่ง
ภาษาเป็นสื่อทำให้เกิดความเข้าใจ และภาษาก็เป็นตัวทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้เช่นเดียวกัน การใช้ภาษาจึงต้องมีความระมัดระวังอย่างมีสติ ถ้าใช้ถูกกลายเป็นกุศล ถ้าใช้ผิดก็กลายเป็นอกุศล
“ ความถูกต้อง” คือ ความง่าย ไม่ใช่ความมักง่าย
“ความมักง่าย” เกิดขึ้นจากการทำตามใจตัวเอง อยากกิน – กิน อยากนอน – นอน อยากพูด – พูด อยากทำ – ทำ ทำทุกอย่างที่ใจต้องการเรียกว่า ความมักง่าย ง่ายเพราะไม่ต้องฝืนใจตัวเอง กิเลสที่อยู่ในใจชอบใจ จึงไม่รู้สึกมีปัญหาอะไรเพราะได้ทำตามใจตัวเองแล้วก็รู้สึกพอใจ
“มักง่ายได้ยาก” ความมักง่ายเพราะ ไม่ต้องฝืนใจตัวเอง มีความรู้สึกอยากด่าก็ด่าออกไป คนที่ถูกด่าก็รู้สึกไม่พอใจก็ด่ากลับคืนมา เมื่อถูกด่าคืนกลับมา ใจมันไม่ยอม เกิดความไม่พอใจ บางทีคุมสติไม่อยู่ถึงขั้นลงไม้ลงมือ ถึงขั้นเลือดตกยางออก หรือติดคุก ติดตาราง ส่งผลให้เกิดความทุกข์ยากลำบากใจ เสียเงินเสียทอง บางทีถึงขั้นเสียชีวิต ความยุ่งยากที่เกิดขึ้น สาเหตุเพราะมักง่ายไม่ต้องฝืนใจตัวเอง
“ยากแต่ไม่เห็น เพราะถูกความอยากครอบงำ” ใจอยากมีฐานะ เศรษฐกิจที่ร่ำรวย ไปกู้หนี้ยืมสินมาลงทุนใหญ่โต กลัวว่าจะหาเงินมาจ่ายหนี้ไม่ทัน ก็ดิ้นรนขวนขวาย เมื่อธุรกิจเจริญขึ้น สินค้าผลิตไม่ทันการสั่งซื้อ กลัวว่าจะเสียลูกค้า อยากขยายโรงงานให้ใหญ่ขึ้น เพิ่มผลผลิต ก็ไปกู้เงินมาขยาย ธนาคารเห็นยอดขายที่เพิ่มขึ้นก็อนุมัติโครงการเงินกู้ รายได้มากขึ้นเพื่อให้สมฐานะก็ซื้อรถราคาแพงขึ้นมาใช้ สร้างบ้านหลังใหญ่ขึ้น เมื่อเกิดพลิกผันเศรษฐกิจตกต่ำ ธุรกิจหยุดซะงักทำให้เกิดชักหน้าไม่ถึงหลัง ก็ดิ้นรนกู้หนี้ยืมสินมาหมุนเวียนเพื่อรักษาสถานภาพ เหนื่อย ยาก ลำบากแต่ก็อดทนเพราะ อยาก รักษาไว้ ต้นเหตุทั้งหมดมาจากความ มักง่าย ทำตามใจตัวเองนั่นเอง
“ความง่าย” เป็นสภาวะที่ เป็นอยู่ แล้วตามธรรมชาติ ดำเนินไปตามเหตุปัจจัยตามธรรมชาติ หิวก็กิน ง่วงก็นอน เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่เนื่องจากความอยาก ความอยากเกิดขึ้นจากการปรุงแต่งไม่ได้มีอยู่ตามธรรมชาติ อยากพูด – ไม่พูด อยากทำ – ไม่ทำ อยากด่า – ไม่ด่า เป็นสภาวะอุเบกขา นิ่งเฉยจากความอยาก
ไม่ต้องคิด ไม่ต้องทำ ไม่ต้องพูด ไม่ต้องแม้กระทั่งอ้าปาก ไม่ต้องใช้พลังงานอะไรเลย เป็นความง่ายอย่างยิ่ง แต่ถ้าสติปัญญารู้ไม่เท่าทันความอยาก อุเบกขา จะเกิดขึ้นไม่ได้ การสร้างกรรมก็จะดำเนินต่อไปตามความอยาก ความมักง่ายจึงเกิดขึ้นตามใจตัวเอง
คิดเพราะคิด ทำเพราะทำ พูดเพราะพูด ไม่เพียงด้วยความอยาก เป็นไปตามเหตุปัจจัย ตามธรรมชาติ ไม่ต้อง ไม่ตั้ง ไม่แต่ ไม่ปรุงแต่ง ไหลลื่นไปตามธรรมดาซึ่งเป็นความปกติของธรรมชาติ เรื่องง่ายไม่วุ่นวายสับสน แปรเปลี่ยนไปตามกฎของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ง่ายๆ ไม่อวดดี อวดเก่งที่จะไปฝืนและเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ เพราะเราคือส่วนน้อยนิดของธรรมชาติเท่านั้นเอง
ความถูกต้องที่แท้จริง คือความไม่ต้อง เพราะต้อง คือเจตนาของความอยาก กรรมชี้เจตนา การกระทำซึ่งแฝงด้วยเจตนา พัฒนาไปสู่ความเป็นวิบากกรรม ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนวัฏฏสงสาร ความง่าย ซึ่งปราศจากความอยาก จึงเป็นความถูกต้องอย่างยิ่ง
“ การบรรลุธรรม เกิดขึ้นจากการแสวงหาที่ล้มเหลว”
- อดีตสะดวกสบาย
- ปัจจุบันสบายโดยไม่ต้องสะดวก