ศีล = คือความปกติของจิต.
เด็กสาวคนหนึ่งคลอดลูกออกมาแล้วเอาไปทึ้งที่สะพานลอยเพราะถูกความรู้ผิด (อวิชชา) ครอบงำว่า อย่าเลี้ยงลูก จะเป็นภาระ ทำให้ลำบาก ให้เอาไปทึ้งเสีย
แม่ไก่สาวท้องแรกออกไข่มาหลายฟองทำหน้าที่ฟักไข่อย่างรับผิดชอบ เมื่อฟักออกมาเป็นลูกไก่แล้ว ก็พาลูกไก่ไปคุ้ยเขี่ยหากิน ถามว่าเคยเห็นแม่ไก่ที่ไหนวางแผนเอาลูกไก่ไปทึ้งที่สะพานลอยไหม ? คำตอบคือ ไม่ ! เพราะแม่ไก่มีคุณธรรม (คุณสมบัติตามธรรมชาติ) คือมีความปกติตามธรรมชาติ (ศีล) ไม่มีความรู้ผิด (อวิชชา) ครอบงำจึงไม่คิดสร้างกรรมใหม่ โดยทึ้งหน้าที่ตามธรรมชาติของความเป็นแม่
ศีลปกติมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เพียงแค่ระวังอย่าให้ความรู้ผิด (ซึ่งแฝงด้วย ความโลภ ความโกรธ ความหลง) มาครอบงำ สัตว์โลกก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามอัตภาพ
เหตุผล : เพื่อผลประโยชน์ตามความเชื่อของตัวเอง
ด็อกเตอร์สองคนเรียนจบปริญญาเอกในสถาบันเดียวกัน รับปริญญาในวันเดียวกัน ออกมาแปลไทยเป็นไทยไม่เหมือนกัน ทะเลาะเบาะแว้งกัน พูดกันไม่รู้เรื่อง ไปอาศัยคนจบปริญญาตรีมาตัดสินถูกผิด คนสองคนนี้เรียกว่าคนมีความรู้เรื่องวิชาที่เรียนแต่ไม่มีปัญญา แม้กระทั่งจะคุยกันให้มันรู้เรื่อง จิตสำนึกลึกๆรู้ว่าตัวเองผิด แต่ความรู้ที่เรียนมาบอกว่ารับผิดไม่ได้ จะทำให้เสียเปรียบและเสียผลประโยชน์ ต่างคนก็มีธงของตัวเอง คือต้องชนะ ต้องได้เปรียบจึงจะดี จึงใช้เหตุผลต่างๆนาๆ เพื่อมาสนับสนุนความเชื่อของตัวเอง ความเชื่อก็เกิดขึ้นจากธงที่มีอยู่ ธงที่มีอยู่ก็เกิดจากสังคมสิ่งแวดล้อมบ่มเพาะ บวกกับความรู้เท่าไม่ถึงกาล ก็ทำให้เกิดการปรุงแต่งขึ้นกลายเป็นความเคยชินซึ่งฝังลึกอยู่ภายใต้จิตสำนึก พัฒนาไปสู่ความเป็นอนุสัยจนไม่รู้ตัว โดยเฉพาะความคิดแบบแข่งขันเสรี ผู้ชนะ คือคนเก่ง จึงทำให้ผู้คนเกิดวิตกจริต กลัวที่จะแพ้ จึงดิ้นรน ขวนขวายที่อยากเป็นผู้ชนะ ใครๆก็อยากเป็นผู้ชนะ ไม่มีใครอยากเป็นผู้แพ้ ความพ่ายแพ้ถูกวาดภาพกลายเป็นสิ่งที่ล้มเหลว ชีวิตจึงมีแต่ความเครียด เพราะความกังวลว่าจะแพ้ แพ้ไม่ดีทำให้เสียเปรียบ ความเป็นจริงไม่มีผู้สามารถชนะคนทั้งโลกได้ จึงทำให้เกิดวิตกจริตลอดเวลา ไม่ละเว้นแม้กระทั้งคนที่ใช้ชีวิติอยู่ร่วมกัน รักกันปานจะกลืนกินวันดีคืนดีก็เกิดขัดแย้งกันขึ้นและไม่ยอมกันเพราะไม่มีใครยอมใครกลัวจะเป็นผู้แพ้ กลัวจะเสียเปรียบ เพราะทุกคนมีธงของตัวเอง คิดพูดทำตามความเชื่อที่ตัวเองมีอยู่ หาเหตุหาผลมาสนับสนุนความเชื่อของตัวเอง อารมณ์วิตกจริตจึงถูกครอบคลุมไปทั่วทุกหนทุกแห่ง เริ่มตั้งแต่ สังคม ครอบครัว ชุมชน ประเทศ และทุกๆประเทศทั่วโลก ทุกหย่อมหญ้าเกิดความขัดแย้งขึ้น เศรษฐกิจขัดแย้ง สังคมขัดแย้ง การเมืองขัดแย้ง ทั้งหมดเกิดจากความยึดมั่นคือมั่น ตามธงที่ตัวเองมีอยู่
รูปแบบกิริยา คือ อุบาย
เป้าหมาย คือ ปัญญา
ผลสูงสุด คือ นิพพาน
ไตรสิกขา
ศีล – วินัย
สมาธิ – ตั้งมั่น
ปัญญา – รู้แจ้ง
โอวาทปาฎิโมกข์
ทาน – ทำดี
ศีล – ละชั่ว
ภาวนา– ขัดเกลาจิตให้ผ่องใส
มรรคมีองค์แปด
สมาธิ – ณาน
ศีล – ปกติ
ปัญญา– วิปัสสนา
พระคุณสมบัติ 2 ประการขอบพระพุทธองค์
1.พระกรุณาคุณ
2.พระปัญญาคุณ
ทำให้ตรัสรู้พระสัมโพธิญาณ
รูปแบบในการฝึกสมาธิ กิริยาในการเจริญสติ จึงเป็นเพียงอุบายวิธี เพื่อก้าวไปสู่วิปัสสนาคือความรู้แจ้งเห็นจริง
จึงควรก้าวข้ามการเจริญสติ เข้าสู่ขบวนการเจริญ มรรค ผล นิพพานก็จะตามมา
สังโยชน์ 10
- สักกายทิฐิ : ความเข้าใจผิดในกายของตนหลงว่าตัวเองเป็นของเรา
- วิจิกิจฉา : ความลังเลไม่แน่ใจ สงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บุญบาปมีจริงหรือไม่ นรกสวรรค์มีจริงหรือเปล่า ?
- สีลัพพตปรามาส : ความพิจารณาใคร่ครวญศีลและวัตร ให้กลายเป็นของผิดไปจากความหมายเดิม เช่น ยึดถือว่าการปฏิบัติที่ตนเข้าใจผิดนั้นเป็นเครื่องมือทำให้เป็นผู้วิเศษมีอำนาจ มหัศจรรย์หรือศักดิ์สิทธิ์หรือขลังอย่างใดอย่างหนึ่งเหนือกว่าคนธรรมดา
- กามราค : คือความยินดีหรือกำหนัดในกามมารมณ์หมายถึงความใคร่ หรือยินดีในรสของอารมณ์ ที่ตรงกับความต้องการของจิตซึ่งตามธรรมดาแล้วคนเราย่อมต้องการ อารมณ์ รูปสวย เสียงเพาะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนุ่มนวล ซาบซ่าน เป็นความใคร่ที่เป็นไปอย่างธรรมชาติ แม้แต่สัญชาติญาณการสืบพันธ์ ก็เป็นความใคร่อย่างธรรมชาติ ความใคร่จะเป็นอย่างธรรมชาติ หรืออย่างหลงใหลปรุงแต่งก็ย่อมนำมาซึ่งความไม่สงบทั้งสิ้นสำหรับความใคร่อย่างหลงใหลปรุงแต่งนั้น พระอริยบุคคล ขั้นแรก คือ พระโสดาบัน ละได้ แต่เป็นความใคร่ที่เป็นอย่างธรรมชาตินั้น พระอนาคามีพึงละได้?
- ปฏิฆะ : ความหงุดหงิดคับแคบใจ หรือความไม่พอใจยังเหลืออยู่ ซึ่งทำให้ความอึดอัดรำคาญใจ ปฏิฆะ ถ้ายังมีอยู่ก็จะทำให้ความบริสุทธิสงบไม่เกิดขึ้นได้
- รูปราค : ความยินดีพอใจในความสงบ ชนิดมีรูปธรรม อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นที่ตั้งอยู่ เช่นความยินดีพอใจในรสของความสุขอันเกิดจาก “ณาน” ที่เป็นสมาธิเข้าขั้น “รูปณาน” คือเพ่งเอาวัตถุหรือรูปหรืออารมณ์เป็นที่ตั้งแน่วแน่จนเป็นรูปณานนั้นเอง เมื่อถึงขั้นนี้แล้วก็ยังมีราคะอย่างละเอียดสำหรับพระอริยะบุคคลอยู่จึงต้องพยายามละรูปราคะนี้เสียเพื่อก้าวไปสู่ความสงบสันติสุขของพระอริยะบุคคลขั้นสูงขึ้นไปอีก
- อรูปราค : คือความยินดีพอใจในความสงบชนิดที่เป็น “อรูปณาน” เป็นที่ตั้งเมื่อละรูปราคะได้แล้ว ไปติดใจในอรูปณาน ซึ่งเป็นสิ่งประณีตสุขมากกว่ารูปณานขึ้นไปอีก จึงเป็นสิ่งที่พระอริยบุคคลควรละเสีย
- มานะ : คือความสำคัญตนและคนอื่นว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ จนถึงกับเปรียบเทียบว่า ดี เลว เสมอกันขึ้น แล้วเกิดความรู้สึก เป็น ปมเด่น ปมด้อย เรียกว่า “มานะ’’ ซึ่งนำมาแห่งความหนักใจ ทุกข์ใจ บางครั้งสำคัญตนเป็นผู้วิเศษหนักขึ้นไปอีก ถ้าละมานะเสียได้ ไม่ถือเขาถือเรา ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่สำคัญผิด ก็จะเข้าสู่ความสงบสุขได้
- อุทธัจจะ : คือความเพลิดเพลิน หรือตื่นเต้นในเรื่องราวหรืออารมณ์บางอย่างก่อให้เกิดความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ความสงบสุข ทางกายและใจ ไม่อาจมีขึ้นได้
- อวิชชา : คือความรู้อย่างผิดๆ ตรงข้ามกับที่ควรจะรู้ เมื่อรู้ผิดแล้ว ทำให้เกิดความคิดผิด (สังขาร) ทำให้รู้สึกที่ผิด (วิญญาณ) พัฒนาไปสู่การ พูดผิด – ทำผิด ต่อไป
สังโยชน์ทั้ง 10 นี้ เป็นเครื่องผูกรัดจิตใจ ให้ได้รับความทุกข์ ด้วยการเวียนเกิดอีกจนนับไม่ถ้วน แบ่งออกเป็นสองระดับ คือตั้งแต่สังโยชน์ 1 ถึง สังโยชน์ 5 คือสังโยชน์ซึ่งมีอยู่ในส่วนเบื้องต่ำ ตั้งแต่ 6 ถึง 10 เป็นสังโยชน์ซึ่งมีอยู่ในส่วนเบื้องสูง ความเวียนเกิดในภพภูมิต่างๆอยู่มีสูงหรือต่ำ ตามอำนาจหนักเบาของสังโยชน์ ถ้าสังโยชน์ฝ่ายเบื้องต่ำมีกำลังกว่า ก็เป็นเหตุฉุดให้ไปเกิดในกำเนิดต่ำ เช่น เปรต สัตว์เดรัจฉานเป็นต้น ถ้าสังโยชน์ฝ่ายสูงมีกำลังกว่า เป็นเหตุให้ไปเกิดกำเนิดสูง เช่น เทวดา พรหม ถ้าสังโยชน์ได้หมดสิ้นไปแล้วเหตุให้เกิดในภพภูมิต่างๆก็ไม่มี ไม่ต้อง เกิดอีกต่อไป
สังโยชน์ 10 ว่าโดยสรุปเป็นรากเง้าหรือรากแก้วของเหตุทั้งหมดส่วนที่ทำให้เกิดทุกข์มี 2 ประการ ได้แก่
- อวิชชา : คือความหลงผิด กั้นบังไม่ให้รู้แจ้งในอารมณ์
- ตัณหา : คือกำหนัดเพลิดเพลินหลงใหลหรือหมุนไปด้วยอำนาจของอารมณ์
“อวิชชาเป็นนิวรณ์เครื่องห้าม’’
“ตัณหาเป็นสังโยชน์เครื่องผูก”
“ตัณหาเป็นอาการของอวิชชา ถ้าอวิชชา ไม่มี ตัณหาก็ไม่มี หมดอวิชชาและตัณหาแล้วก็เป็นอิสระ จิตก็บรรลุแล้วซึ่งวิมุติ คือความหลุดพ้นโดยสิ้นเชิง ”
“จิตของเราได้ถึงแล้วซึ่งวิสังขาร เพราะเราได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลาย”
“จิตส่งออก คือ สมุทัย
ผลของจิตส่งออก คือ ทุกข์
จิตเห็นจิต คือ มรรค
ผลของจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง คือ นิโรธ”
หลวงปู่ดูล
“เมื่อประตูแห่งความรู้แจ้งยังไม่เปิด ฉันก็ได้แต่เพียงเฝ้าดูจิตฉันเรื่อยไป”
พระอาจารย์ตั๊กม้อ
“มัวแต่ถือศีลนั่งสมาธิมันจะไปไหน”
หลวงพ่อชา
“หลงป่า : หาทางเดินออกจากป่า
อย่าเสียเวลาไปเพิ่มสติเพิ่มสมาธิ
เพียงแค่ใช้สติใช้สมาธิในการเดินทางทุกอย่างจบลงที่จิต เพราะจิตเป็นตัวหลุดพ้น”
พ่อครูบัญชา
เรื่อง : พระอรหันต์พึงเป็นคฤหัสถ์ได้ (คิหิสส อรหาคำกถา)
ถาม : พระอรหันต์พึงเป็นคฤหัสถ์ได้ใช่หรือไม่?
ตอบ : ใช่
ถาม : พระอรหันต์ยังมีเครื่องร้อยรัดของคฤหัสถ์หรือ
ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น
(ความจริงเรื่องนี้เป็นเพียงโวหาร คือนิกายอุตตราปถก: มีความเห็นว่า มีคฤหัสถ์หลายคนที่เป็นพระอรหันต์ เช่น ยศกุลบุตร สันตติมหาอำมาตย์ จึงกล่าวอย่างนั้นแก่ฝ่ายค้านซักว่า ถ้าอย่างนั้น พระอรหันต์ก็มีกิเลสของคฤหัสถ์ใช่หรือไม่ ถามข้อเท็จจริง มีคฤหัสถ์หลายคนได้บรรลุอรหัตตผลแต่เมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์ ความเป็นอยู่ทุกอย่างก็ต่างไปจากคฤหัสถ์ คือไม่ครองเรือน ไม่เสพกาม ไม่ดำรงชีวิตแบบชาวโลก เพาะฉะนั้น จึงไม่ควรกล่าวว่า พระอรหันต์เป็นคฤหัสถ์)
เรื่อง : ไม่มีอาสวะ (อนาสวกถา)
ถาม : ธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ไม่มีอาสวะ คือกิเลสที่ดองสันดานใช่หรือไม่?
ตอบ : ใช่
ถาม : ธรรมทั้งปวงเป็นมรรคผล หรือนิพพานเป็นต้นใช่ไหม?
ตอบ : ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น
(นิกายอุตตราปถก: มีความเห็นว่าผิดธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ย่อมไม่มีอาสวะทั้งสิ้น คำว่าธรรมทั้งปวงทำให้เกิดความหมายยุ่งยาก เพราะว่าพระอรหันต์มีจีวร จีวรก็เป็นของไม่มีอาสวะ เมื่อให้จีวรนั้นไป จะว่าจีวรนั้นไม่มีอาสวะหรือ? ความจริงไม่ควรกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงของพระอรหันต์ไม่มีอาสวะเพราะจะมีความหมายคุมไปถึง ร่างกาย เครื่องใช้)
ทั้งสองเรื่องสองกถา ชี้ชัดว่าพระอรหันต์พึงเป็นคฤหัสถ์ได้ เพราะพระอรหันต์ก็สมมุติ คฤหัสถ์ก็สมมุติ เป็นชื่อสมมุติเรียกสภาวธรรมของจิตว่าอยู่ในระดับใด เป็นภาษาที่มนุษย์สมมุติขึ้น “ธรรมะที่แท้จริงไม่มีธรรมะ ไม่มีธรรมะนั้นแหละธรรมะ” (ไม่มีเพศ ไม่มีวัฒนธรรม ไม่มีประเพณี ไม่มีภาษา ไม่มีอาชีพ ไม่มีลัทธิศาสนา)
พระพุทธเจ้า : นิยามปัญญาว่า มีชีวิตอยู่ในแสงสว่างของจิตของคุณเอง และความโง่คือการหลงงมงายเชื่อผู้อื่น เลียนแบบผู้อื่นและกลายเป็นเงาของผู้อื่น
ศาสดาที่แท้จริงจะรังสรรค์ ศาสดาไม่ใช่สาวก ศาสดาที่แท้จริงโยนคุณกลับไปสู่ตัวคุณเอง ครูที่แท้จริงจะไม่ยอมให้คุณเป็นกระดาษสำเนา เขาต้องการให้คุณเป็นตัวเอง ปรารถนาคุณเป็นอิสระอย่างแท้จริง อิสระจากการพึ่งพิงใครๆ
จงเป็นผู้นำแสงสว่างมาสู่ตัวเอง แล้วคุณจะชาญฉลาดขึ้น ถ้าปล่อยใครคนอื่นมาเป็นผู้นำ เป็นมัคคุเทศก์ แล้วคุณก็จะคงโง่เขลาอยู่อย่างนั้น คุณจะพลาดคุณค่าของชีวิตทุกประการ ซึ่งเป็นคุณค่าของคุณเองแท้ๆ
ชีวิตคือการจาริกแสวงหาที่งดงามอย่างเหลือเกิน แต่สำหรับผู้พร้อมที่จะแสวงหาเท่านั้น
พระอาจารย์ตั๊กม้อ : ท่านพระโพธิธรรมปฏิเสธอาณาจักรด้วยการกล่าวกับพระบิดาว่า “หากพระองค์ไม่อาจป้องกันข้าไว้จากความตายแล้วไซร์ ก็โปรดอย่าห้ามข้าเลย ปล่อยให้ข้าไปค้นหาสิ่งที่อยู่เหนือความตายเถิด”
พระบิดา : ข้าจะไม่ห้ามเจ้า เพราะข้าห้ามความตายของเจ้าไม่ได้ เจ้าจงไปแสวงหาพร้อมกับคำอวยพรของข้าเถิด แม้เป็นเรื่องเศร้าสำหรับข้า แต่นั่นก็เป็นปัญหาของเจ้า เป็นความยึดติดของข้าเอง ข้าวังว่าเจ้าจะเป็นผู้สืบทอด เป็นมหาราชาแห่งแคว้นปัลลวะอันยิ่งใหญ่ แต่เจ้าเลือกบางสิ่งที่สูงกว่านั้น ข้าเป็นบิดาของเจ้า แล้วข้าจะห้ามเจ้าไปเพื่ออะไรกันล่ะ
แม่ชีชิโยโนะ : พากเพียรมาหลายปี แต่ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ คืนหนึ่งท่านแบกครุใส่น้ำใบเก่า ขณะเดินไปท่านมองเห็นพระจันทร์เต็มดวงสะท้อนอยู่ในครุน้ำ ทันใดนั้นไม้ไผ่ที่สานเป็นครุอยู่เกิดหักทะลุ ครุน้ำล่วงลงเป็นชิ้นๆ น้ำไหลออก เงาจันทร์หายสูญไปแล้วชิโยโนะก็รู้แจ้ง
สิ่งที่เกิดขึ้นกับชิโยโนะมันอยู่เหนือคุณ ท่านได้พากเพียรมาหลายปี ท่านได้ฝึกสมาธิทุกรูปแบบ ท่านได้ปลูกฝังมาแล้วทุกเทคนิค ทว่าก็ไม่สามารถค้นพบการรู้แจ้งได้
คุณไม่อาจทำให้เกิดความรู้แจ้งได้มันอยู่เหนือคุณ ถ้าคุณทำให้เกิดขึ้นได้ ก็แปลว่ามันอยู่ข้างใต้ในตัวคุณ หากคุณทำให้เกิดขึ้นได้ ก็เป็นอีกครั้งที่เกิดการตกแต่งตัวตนครั้งใหม่ของคุณ ไม่ใช่สิ่งอื่น คุณไม่อาจทำให้เกิดความรู้แจ้งได้ คุณไม่อาจทำให้มันเกิดขึ้น คุณต้องหายลับไปเพื่อให้มันเกิดขึ้น
ยิ่งคุณตระหนักรู้มากเท่าไหร่ คุณก็จะดำรงอยู่น้อยลงเท่านั้น และในชั่วขณะที่การตระหนักรู้ถึงขั้นสุด ตัวตนก็จะหายไป
การรู้แจ้งเกิดขึ้นเมื่อเกิดขึ้น คุณมิอาจสั่งได้
ยิ่งมีความรู้มากขึ้น คุณก็ยิ่งพอกพูนตัวตนมากขึ้น ยิ่งคุณฝึกตามเทคนิคที่เคร่งครัดทางศาสนามากเท่าไหร่ ตัวตนของคุณก็จะยิ่งแข็งแกร่งขึ้น ยิ่งคุณทำ คุณก็ยิ่งรู้สึกว่าตัวคุณมีคุณค่าและสามารถอ้างว่ารู้แจ้ง
การรู้แจ้งไม่ใช่สิ่งที่คุณจะพบได้ด้วยการแสวงหา มันมาหาคุณเอง เมื่อการค้นหาทุกอย่างล้มเหลวลง แต่ไม่ได้มายความว่าไม่ต้องทำสมาธิภาวนา หากคุณไม่ทำสมาธิภาวนา คุณก็ไม่มีวันเข้าใจว่า มีสมาธิภาวนาแบบหนึ่งซึ่งคุณทำไม่ได้ แต่มันจะมาเยือนคุณเอง
คุณไม่ละเอียดอ่อนพอจะรับรู้ได้ คุณไม่ว่างพอจะถูกเติมเต็ม คุณอัดแน่นเต็มไปด้วยตัวตนของคุณเอง
ชั่วขณะที่คุณไม่ได้ดำรงอยู่ การรู้แจ้งก็เกิดขึ้นด้วยความว่าง เรื่องนี้ก็ได้บังเกิดขึ้น
ถ้าตัวคุณยังอยู่ คุณก็จะยังโง่เขลาและมืดบอด
พระอาจารย์จวงจื่อ : อีโก้ไม่ใช่ความถูกต้อง มันคือสิ่งเลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์ ทั้งยังไม่อาจนำความถูกต้อง ความจริงมาให้คุณได้ มันเพียงแต่ท้าให้อีโก้ของคุณแข็งแกร่งขึ้น จวงจื่อใช้คำพูดง่ายๆ เป็นคำพูดเบื้องต้นที่สุด “ง่ายคือถูกต้อง” เหมาะสำหรับเรื่องง่ายๆแล้ว อีโก้ไม่สนใจ
สัจจะธรรมและความถูกต้องจะต้องเป็นเรื่องธรรมชาติ ง่ายหมายถึงเป็นธรรมชาติ คุณจะพบมันโดยไม่ต้องพยายามอะไร ง่ายคือถูกต้อง
เริ่มต้นได้ถูกต้อง เจ้าก็จะง่าย สืบเนื่องความง่าย เจ้าก็จะถูกต้อง
คุณจะไม่พบในนกเลยว่า มีใครที่เป็นนักบุญ และมีใครที่เป็นคนบาป คุณจะไม่พบในต้นไม้ด้วยเช่นกันว่ามีใครที่เลอเลิศ และใครที่ร้ายกาจ ทุกสิ่งล้วนแต่ง่าย ง่ายเสียจนคุณไม่จำเป็นต้องนึกถึง
หากคุณรู้สึกถึงความเครียดใดๆก็พึงระวังไว้ว่า สิ่งที่คุณทำนั้นไม่ถูกต้อง และท่านจวงจื่อเป็นคนเพียงคนเดียวที่ได้ให้หลักการแสนงามไว้ “ง่ายคือถูกต้อง” เริ่มต้นถูกต้องแล้วเจ้าจะง่าย สืบเนื่องความง่ายแล้วเจ้าจะถูกต้อง หนทางที่ถูกต้องสู่ความง่ายคือ จงลืมวิถีที่ถูกต้องและลืมความง่ายเสีย ย่อมคลายเข้าสู่ความไร้ตัวตนกลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาลอันผ่อนคลายนี้ ผ่อนคลายอย่างยิ่ง จนคุณลืมนึกถึงความง่ายและความถูกต้องทั้งปวง
*สิ่งดีๆเพียงแค่นำมาแบ่งปัน*
อดีตประธานบริษัทแอ๊ปเปิ้ล คือ คุณสตีฟ จอบส์ ซึ่งได้เสียชีวิตไปแล้ว เคยกล่าวไว้ว่า “อาหารส่วนใหญ่ที่เรากิน เราไม่ได้ผลิตขึ้นมาเองด้วยตัวเรา เราใส่เสื้อผ้าที่ผู้อื่นเป็นผู้ผลิต เราใช้ภาษาที่ผู้อื่นพัฒนาขึ้น เราใช้คณิตศาสตร์ที่คนอื่นค่อยๆปรับปรุงเรื่อยมา เราเป็นผู้รับตลอด ฉะนั้นคงเป็นสิ่งที่น่าปลาบปลื้มอย่างยิ่งถ้าเราสามารถสร้างสรรค์ บางสิ่งบางอย่าง ซึ่งมีประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติ”
แล้วได้กล่าวต่อไปว่าคนที่ได้ศึกษาพุทธรรมอย่างถ่องแท้เท่านั้นที่จะเข้าใจความคิดของเขา
คุณสตีฟ จอบส์ได้ยึดหลักคำสอนของพุทธศาสนาลัทธิเซนมาเป็นหลักชีวิตที่สำคัญ 4 ข้อ คือ
1. จิตตื่นรู้ : เซนให้ความสำคัญกับการมองเห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง ซึ่งสิ่งนี้ทำมห้สตีฟมองเห็นความเป็นไปได้ก่อนที่จะเห็นข้อจำกัด
2. น้อยแต่มาก : วิถีชีวิตแบบเซ็น เป็นวิถีชีวิตที่ต้องการความสำรวมอย่างยิ่ง สตีฟเชื่อว่ายิ่งน้อยเท่าไหร่ ยิ่งเรียบง่ายเท่าไหร่ก็ยิ่งดีต่อชีวิตเท่านั้น เขาจึงยืนกรานที่จะให้ “iphone” มีเพียงปุ่มเดียว (แต่มากด้วยคุณภาพ)
3. ไม่แบ่งแยก : เซนให้คุณค่ากับสิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ใบหญ้า ภูเขา ลำธาร เสมอกับตัวเอง ไม่มีการแบ่งแยก (โลกของสรรพสิ่ง ไม่ใช่โลกมนุษย์)
4. ทำหน้าที่ : ครั้งหนึ่งมีผู้ถามหลวงจีนมูลู่ ซึ่งเป็นปรมาจารย์เซนท่านหนึ่งว่า “เราต้องนุ่งห่มเสื้อผ้าทุกวัน กินอาหารทุกวัน ทำอย่างไรจึงจะหลีกหนีการกระทำเช่นนี้ได้” อาจารย์ตอบว่า “เราก็นุ่งห่มเสื้อผ้าและกินอาหาร” เมื่อผู้ถามบอกว่าไม่เข้าใจ ท่านก็ยังยืนยันคำตอบเดิม
ความหมายที่แท้จริงของเรื่องนี้คือ เซนเชื่อว่าการทำหน้าที่ คือ เส้นทางแห่งการบรรลุธรรมของมนุษย์ ส่วนทำแล้วจะบรรลุธรรมเมื่อไหร่เซนไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก
(ธรรมะคือหน้าที่ หน้าที่คือธรรมะ)
56 ปีของคุณสตีฟ จอบส์ มีคุณค่ามากกว่าคนอยู่ถึงร้อยปี ซึ่งไม่เคยรู้จักตัวเองเลย