080-5519598 (คุณแก้ว) [email protected]
Select Page

บทความพ่อครูnew-03

โพธิปักขิยธรรม คือ ธรรมที่เป็นเครื่องตรัสรู้ ย่อมประชุมพร้อมเมื่อวิปัสสนาญาณเกิดสมบูรณ์ในผู้ปฏิบัติวิปัสสนา
เป็นแนวทางไปสู่มรรค ผล นิพพาน ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหมวดธรรมที่สำคัญ 7 หมวด

สติปัฏฐาน หรือที่ตั้งแห่งการเจริญสติ คือหัวใจของวิปัสสนา แยกออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งคือผู้เพ่ง อีกส่วนหนึ่งคือตัวถูกเพ่ง
ตัวถูกเพ่งก็คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งเรียกว่าสติปัฏฐาน 4

กายานุปัสสนา คือ รูปขันธ์ เป็น รูปธรรม
เวทนานุปัสสนา คือ เวทนาขันธ์ เป็น นามธรรม
จิตตานุปัสสนา คือ วิญญาณขันธ์ เป็น นามธรรม
ธรรมานุปัสสนา คือ ขันธ์ทั้ง 5 เป็น รูปธรรมและนามธรรม

สติปัฏฐาน 4 ก็คือรูป-นามนั่นเอง การที่จะใช้รูปนามอะไรก็ได้มาเป็นฐานของการเจริญสติ ก็ถือว่าอยู่ในข่ายของสติปัฏฐานสี่ทั้งนั้น
สติปัฏฐานสี่แต่ละส่วนก็แยกออกเป็นหลายๆ บรรพ เฉพาะธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานก็มี 5 บรรพ คือ นิวรณ์บรรพ ขันธบรรพ
อายตนะบรรพ โพชฌงค์บรรพ อริยสัจบรรพ จะพิจารณาบรรพไหนยังไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่ากับว่า พิจารณาเพื่ออะไร บางทีพิจารณา
ไปพิจารณามา ก็ไปหลงติดอยู่กับฐานที่พิจารณา ได้แค่ความสงบชั่วครู่ ปัญญาก็ไม่เกิด เพราะไปกดมันไว้ จนลืมเป้าหมายของการปฏิบัติ
เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

หมวดสติปัฏฐาน 4 นี้มักจะสัมพันธ์กันโดยตลอดทั้ง 4 อย่าง คือ เมื่อตั้งสติที่กาย สติที่เวทนา สติที่จิต สติที่ธรรม ก็เกิดร่วมด้วยอยู่เสมอ
ตัวอย่างเช่น ตั้งสติระลึกรู้อิริยาบถเดินก็มีสติ ระลึกรู้เวทนา ระลึกรู้ถึงจิต และระลึกรู้ถึงธรรมโดยตลอด

ก. สังวรปธาน  เพียรระวังมิให้อกุศลใหม่เกิดขึ้นอีก
ข. ปหานปธาน  เพียรละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป
ค. ภาวนาปธาน  เพียรบำเพ็ญกุศลให้เกิดขึ้นเสมอๆ
ง. อนุรักขนาปธาน  เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว มิให้เสื่อมไป

ก. ฉันทะ  ความพึงพอใจ สนใจในธรรม
ข. วิริยะ  ความเพียรความพยายามประพฤติปฏิบัติธรรม
ค. จิตตะ  ความเอาใจใส่ จิตใจจดจ่อในธรรม
ง. วิมังสา  ความใคร่ครวญ รู้แจ้ง ในสภาวธรรม

ก. สัทธินทรีย์  ความเป็นใหญ่ในความเชื่อ ความเลื่อมใส
ข. วิริยินทรีย์  ความเป็นใหญ่ในความเพียร
ค. สตินทรีย์  ความเป็นใหญ่ในสติระลึกรู้เท่าทัน
ง. สมาธินทรีย์  ความเป็นใหญ่ในสมาธิ มีอารมณ์มั่นคง ไม่เผลอ
จ. ปัญญินทรีย์  ความเป็นใหญ่ในทางปัญญา  หรือความรู้แจ้ง  เห็นจริง

ก. สัทธาพละ  กำลังหรือพลังแห่งความเชื่อในธรรม
ข. วิริยพละ  กำลังแห่งความเพียรในการปฏิบัติธรรม
ค. สติพละ  กำลังแห่งสติความระลึกรู้เท่าทันปัจจุบันธรรมของรูปนาม
ง. สมาธิพละ  กำลังแห่งสมาธิ มีสติมั่นคงไม่เผลอในปัจจุบันธรรม
จ. ปัญญาพละ  พลังแห่งปัญญาความรู้แจ้งเห็นจริงในสภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันธรรม

คือ ธรรมที่เป็นองค์แห่งความตรัสรู้ และเป็นองค์แห่งอริยมรรค ปัญญารู้แจ้งแทงตลอดในโลกุตรธรรม ได้แก่

ก. สติสัมโพชฌงค์ ได้แก่ สติระลึกรู้รูปนาม ในโลกุตรธรรม
ข. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ปัญญาสอดส่อง พิจารณารูปธราม นามธรรม โดยอาศัยไตรลักษณ์เป็นเครื่องตัดสิน
ค. วิริยสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ความเพียร เพื่อการตรัสรู้ในรูปธรรม นามธรรม ที่เกิดดับเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ง. ปิติสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ความอิ่มจิตในการแสวงหาความรู้รูปนามตามความเป็นจริง และได้พระนิพพานเป็นอารมณ์
จ. ปัสลัทธิสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ความสงบ ว่างจากอารมณ์ เพื่อความตรัสรู้ ได้พระนิพพานเป็นอารมณ์แต่อย่างเดียว
ฉ. สมาธิสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ความมั่นคงของจิตใจไม่เผลอ และเป็นจิตที่ประกอบด้วยความรู้ รูปธรรม นามธรรม
ว่าเป็นไปตามอำนาจของไตรลักษณ์และได้พระนิพพานเป็นอารมณ์
ช. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ได้แก่ ความวางเฉยต่อสหชาติทั้งปวง ที่ประกอบด้วยรูปธรรม นามธรรม ได้พระนิพพานเป็นอารมณ์่

ศีล สมาธิ ปัญญา